ระบบคอมพิวเตอร์แบบยั่งยืนภูมิปัญญาไทย
(SSS: Supat's Sustainable System)

SSS คืออะไร
        ระบบคอมพิวเตอร์ SSS วิจัยและพัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ สุฟัตร์ ฟ้ารุ่งสาง ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ให้เปล่า (Freeware) ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ผู้สนใจสามารถศึกษาหาความรู้ พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพได้ด้วยตนเอง ระบบคอมพิวเตอร์ SSS จะช่วยทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ เช่นรุ่น 386, 486, 586 เป็นต้น สามารถกลายสภาพเป็น Super Computer โดยลงทุนอุปกรณ์เพิ่มเติมเพียง
เล็กน้อย นอกจากนี้ยังช่วยให้บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ของไทย มีอิสระและเสรีภาพ ที่จะพัฒนาขีดความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ให้สูงยิ่งขึ้นได้ด้วยตนเองและให้
เหมาะสมกับงานขององค์กรได้มากยิ่งขึ้น
        ระบบคอมพิวเตอร์ SSS เป็นระบบคอมพิวเตอร์แบบยั่งยืนภูมิปัญญาไทย มีระบบภาษาไทยที่สมบูรณ์แบบ มีฟอนด์ภาษาไทยมากกว่า 50 รูปแบบ และสามารถเพิ่มเติม
ได้ตลอดเวลา มีรูปแบบการใช้งานออฟฟิศ เหมือนโปรแกรมออฟฟิศที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ไม่ต้องเรียนรู้ใหม่มากนัก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติของ Internet
Intervention at Low Cost ครบถ้วน งานต่างๆ ที่โปรแกรมออฟฟิศปัจจุบันทำได้  โปรแกรมออฟฟิศ (StarOffice 5.1 ของ Sun Microsystem) ในระบบ SSS สามารถทำได้
ทั้งหมดและทำได้ดีกว่า  นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ SSS ยังมีระบบสารสนเทศ (Information Networking) ระบบวงสนทนา (Tele-Conference) ระบบกราฟิกที่สวยงาม
ระบบความบันเทิง (Multimedia) เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยสูงจากไวรัสคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้สามารถพึ่งพาตนเองได้สูงสุด
        ระบบคอมพิวเตอร์ SSS ประกอบด้วย
        1. องค์ความรู้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux Operating System) จนทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สามารถแบ่งไมโครโปรเซสเซอร์จากตัวแม่ข่าย
นำมาทำงานต่างๆ บนตัวลูกข่ายได้ ด้วยความเร็วและประสิทธิภาพใกล้เคียงกับตัวแม่ข่าย ในจำนวนมากกว่า 100 เครื่องลูกข่าย
        2. องค์ความรู้ในการนำฟอนด์ภาษาไทยจากระบบปฏิบัติการอื่นๆ เช่น วินโดว์ มาติดตั้งให้กับโปรแกรมออฟฟิศของลีนุกซ์มากกว่า 100 ฟอนด์
        3. องค์ความรู้ในการนำโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจเช่น ระบบบัญชี  ระบบสินค้าคงคลัง  ฯลฯ  ภาษาไทยที่ใช้อยู่บนระบบปฏิบัติการ DOS หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ
มาทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
        4. องค์ความรู้ในการติดตั้งโปรแกรมทางด้าน Internet และ Multimedia  ให้สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้
        5. องค์ความรู้อื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้บนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์ SSS (ตัวอย่าง)

"เอส เอส เอส" เนรมิตเครือข่ายด้วย "ลีนุกซ์"
ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ ([email protected])
คัดลอกจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2542

        เมื่อราวๆ สักเกือบเดือนหนึ่งที่ผ่านมา มีการสาธิตระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า "เอส เอส เอส" กันที่ร้านไอแม็กคอมพิวเตอร์ สาขาไอทีมอลล์ ที่ฟอร์จูนทาวเวอร์ เจ้าของที่คิดค้นระบบนี้ขึ้นมาคือ รองศาสตราจารย์ สุพัตร์ ฟ้ารุ่งสาง ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
        เอสเอสเอส นั้นย่อมาจากอะไรผมเองก็ลืมเสียสนิท แต่มีความหมายในทำนองระบบยั่งยืนอะไรแบบนั้นแหละครับ ใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์พื้นฐาน ผมไ่ม่ได้ไปดูการ
สาธิตด้วยตัวเอง แต่น้องนักข่าวที่ "ประชาชาติธุรกิจ" เขาไปดูแล้วมาเล่าให้ฟัง จะอธิบายคร่าวๆ นะครับ ระบบเครือข่ายที่ว่านี้ ซึ่งที่จริงก็คือ ระบบแลนนั่นแหละ มีเครื่องแม่
ข่ายมีประสิทธิภาพสูงเครื่องหนึ่ง และลูกข่ายซึ่งเป็นเครื่องรุ่นเก่าๆ ไม่ว่าจะเป็น 386, 486, หรือ 586 หน่วยความจำ 16 เมกกะไบท์ขึ้นไป
        เครื่องลูกข่ายที่ว่านี้แทนที่จะทำงานด้วยตัวของมันเอง ก็ไปดึงเอาความสามารถมาจากเครื่องแม่ข่ายมาใช้ ดังนั้นแทนที่มันจะทำงานได้เพียงแค่ระดับเครื่อง 386 หรือ
486 กลับกลายเป็นว่าประสิทธิภาพของเครื่องเก่าขยับขึ้นไปเกือบเท่าเครื่องแม่ เรียกใช้โปรแกรมที่อยู่ในเครื่องแม่ข่ายแทน ลักษณะนี้คือ การทำงานแบบที่เรียกกันว่า แชร์
ซีพียู (Shared CPU)
        จุดมุ่งหมายของระบบเอสเอสเอส นั้นอยู่ตรงที่การประหยัดเงิน ประหยัดทรัพยากร แทนที่เครื่องเก่าตกรุ่นจะต้องถูกทิ้งไป ก็กลับทำให้มันยังคงสามารถใช้งานต่อไปได้
แม้ซอฟท์แวร์จะมีการปรับรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ ก็ตาม การที่มันใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นพื้นฐาน ก็ยังช่วยประหยัดเงินค่าซอฟท์แวร์ได้ด้วย เนื่องจากมันเป็นของฟรี
และทุกวันนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ลีนุกซ์และซอฟท์แวร์ใช้งานแบบลีนุกซ์แบบฟรีๆ ก็มีอยู่เพียงพอกับการใช้งานได้โดยปกติ แทบไม่ต่างอะไรจากวินโดว์เท่าไรนัก ระบบ
เอสเอสเอส ที่สาธิตกันนั้น ก็ใช้ภาษาไทยได้ ใช้งานมัลติมีเดียได้ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ยิ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ซันไมโครซิสเต็ม ประกาศแจกฟรีสตาร์ออฟฟิศ แม้จะเอาไปใช้ใน
เชิงพาณิชย์ก็ฟรี ก็ยิ่งทำให้ลีนุกซ์มีความน่าสนใจมากขึ้นตามลำดับ
        แนวความคิด "เอสเอสเอส" นั้นมีความสนใจก็ตรงที่มันจะช่วยให้เครื่องรุ่นเก่าๆ กลับมีความหมายขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา หรือ
แม้กระทั่งบริษัทธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เดี๋ยวนี้เราก็รู้กันอย่าว่าแต่เครื่อง 386, 486 เลยที่กลายเป็นของหาค่ามิได้ แม้กระทั่งเพนเทียมธรรมดาและเอ็มเอ็มเอ็กซ์ รุ่นต้นๆ ก็ตี
ราคากันไม่ออกแล้ว ซอฟท์แวร์เชิงพาณิชย์ใหม่ๆ ที่ออกมาขาย ก็แทบเอาไปใช้อะไรกับเครื่องเก่าๆ พวกนี้ไม่ได้ เพราะมันจะทำงานอย่างเชื่องช้าจนคนใช้มัน อาจจะบ้าตาย
ไปก่อนงานจะเสร็จ จะว่าไปแล้วไม่ต้องไปคิดถึงเครื่องเก่าด้วยซ้ำ เช่น จะสร้างระบบเครือข่ายขึ้นมาใหม่เอี่ยม แต่ใช้วิธีเดียวกันนี้ เอาลีนุกซ์เป็นพื้นฐาน สมมติในระบบมีสัก
20 เครื่อง เฉพาะค่าซอฟท์แวร์ก็ประหยัดไปไม่รู้เท่าไรแล้ว
        แน่นอนว่า เอสเอสเอส นี้มีข้อสังเกตกันหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือ ระบบนี้จะรองรับเครื่องลูกข่ายได้ขนาดไหนในการทำงานพร้อมๆ กันของเครื่องลูกข่าย เพราะยิ่งมาก
เครื่องก็ต้องเฉลี่ยทรัพยากรกันไปให้แต่ละเครื่อง คำตอบตรงนี้ยังไม่ชัดนัก แต่ถ้าถามว่ามีประโยชน์ไหม ตอบได้เลยว่ามีประโยชน์แน่นอน.

SSS in press

ลีนุกซ์ 'เวิร์ด เปอร์เฟ็กต์ 8'
ไอทีทะลุโลก ([email protected]) ประชาชาติธุรกิจ  27-30 พฤษภาคม 2542

        คงต้องปักหลักกิโลฯ ทางประวัติศาสตร์เพิ่มกันอีกสักหนึ่งหลัก สำหรับระบบปฏิบัติการฟรี "ลีนุกซ์" ซึ่งสร้างปรากฎการณ์ให้ฮือฮามากขึ้นเรื่อยๆ นระยะสองสามปีหลัง
มานี้ ยอดผู้ใช้ลีนุกซ์ทั่วโลกเวลานี้ประเมินว่าอยู่ที่ราวๆ 10 ล้านรายแล้ว และก็ยังคงจะเติบโตต่อไปเรื่อยๆ
        ด้านหนึ่งอาจจะเป็นอารมณ์ร่วมของยุคสมัยที่คนต้องการทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่ไมโครซอฟท์ แต่เมื่อติดตามกันให้ดี มันไม่ใช่แค่นั้นอย่างแน่นอน ดีกว่าและถูกกว่า เป็นอีก
คำตอบหนึ่งที่ชัดเจน
        และทิศทางการพัฒนาลีนุกซ์ก็เห็นกันได้อย่างชัดเจนในเรื่องที่ทำให้มันใช้งานง่ายขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะยังไม่ง่ายเท่าเมื่อเทียบกับระบบปฏิบัติการวินโดว์ แต่ปัจจุบันลีนุกซ์
ก็ง่ายขึ้นจนถึงระดับที่คนทั่วๆ ไปพอจะใช้ได้แล้ว
        เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง บริษํทคอเรล ซึ่งเป็นบริษัทซอฟท์แวร์ชื่อดังที่รู้จักกันอยู่ ประกาศถึงหลักชัยอันสะท้อนให้เห็นถึงความแพร่หลายของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ นั่น
ก็คือ โปรแกรม เวิร์ด เปอร์เฟ็กต์ 8 สำหรับลีนุกซ์ ซึ่งคอเรลเปิดให้ดาวน์โหลดไปลองใช้ฟรีเป็นเวลา 90 วัน โดยเริ่มให้ดาวน์โหลดมาตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ถึงตอนนี้
มียอดการดาวน์โหลดทะลุหลักล้านมาแล้ว เป็นยอดที่ทำให้คอเรลเองก็ประหลาดใจไม่น้อย เพราะเหนือกว่าที่คาดหมายไว้มาก
        เพียงแค่ 12 ชั่วโมงแรกที่เริ่มให้ดาวน์โหลด คอเรลพบว่ามีความพยายามดาวน์โหลดเวิร์ด เปอร์เฟ็กต์ 8 สำหรับลีนุกซ์สูงถึง 80,000 ครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วมีการดาวน์โหลด
สัปดาห์ละประมาณ 70,000 ครั้ง สำหรับโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมานั้น จะใช้ฟรีได้ 90 วัน หากไม่ลงทะเบียนก็จะไม่สามารถใช้ต่อได้ สำหรับราคาโปรแกรมนี้ ที่ขายนั้นเท่ากับ
เวิร์ด เปอร์เฟ็กต์ 8 สำหรับวินโดว์ คือ 50 เหรียญ แต่คุณสมบัติหลายอย่างมีเฉพาะสำหรับลีนุกซ์เวอร์ชั่นเท่านั้น  การให้ดาวน์โหลดฟรีนี้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อแผ้วทางสำหรับชุด
ออฟฟิศ เวิร์ด เปอร์เฟ็กต์ 2000 ที่จะออกสู่ตลาดในตอนสิ้นปีนี้
        ความจริงชุดออฟฟิศสำหรับลีนุกซ์นั้น มีของบริษัทอื่นๆ อยู่ในตลาดก่อนแล้ว เช่น สตาร์ออฟฟิศ เป็นต้น แต่การมีชุดออฟฟิศจากมวยหลักอย่างคอเรล จะยิ่งเสริมการเติบโต
ของลีนุกซ์ให้มากขึ้นด้วยทางเลือกที่หลากหลาย และความน่าเชื่อถือสำหรับคนที่ยังไม่เชื่อมั่นเท่าไรนักกับระบบปฏิบัติการนี้  กว่าจะถึงสิ้นปี ลีนุกซ์จะสร้างปรากฎการณ์ใน
วงการคอมพิวเตอร์อีกมากทีเดียว และใครแลเห็นโอกาสทางธุรกิจตรงนี้ก็จะล้ำนำหน้าคนอื่นไปอย่างน้อยก็ก้าวหนึ่ง
        ที่จริงในงานพีซี เอ็กซ์โป ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บูทของร้านไอแม็กคอมพิวเตอร์นำพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปสาธิตให้ชม  และ
ตอนนี้ก็พร้อมแล้วสำหรับการขาย พีซีที่มีระบบปฏิบัติการสองระบบในเครื่องเดียว น่าจะเป็นเจ้าแรกของโลกเสียด้วยซ้ำ

โลคอลแบรนด์ชิมลางลีนุกซ์ 'เอเทค-IMAG' ขอแจมตลาด
ประชาชาติธุรกิจ  24-27 มิถุนายน 2542

        ผู้ผลิตคอมฯ โลคอลแบรนด์มาแรง จับลีนุกซ์ลงเครื่องพีซีเป็นรายแรกในเมืองไทย ชูกลยุทธ์เป็นทางเลือกใหม่ ท้าพิสูจน์ติดตั้งเสร็จภายใน 5 นาที ด้าน "เอเทค" ไม่น้อยหน้า
ดันเซิร์ฟเวอร์ลีนุกซ์ออกตลาดเดือนหน้า
        นายวรวุฒิ ลายสนิทเสรีกุล รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยชุน ฟาสท์-เทค จำกัด ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ IMAG เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้เปิด
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ที่ใช้ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นครั้งแรกในตลาด เป้าหมายเพื่อให้เกิดทางเลือกสำหรับผู้ใช้งาน โดยเฉพาะการใช้แอปพลิเคชั่นบนอินเทอร์เนต
        เครื่อง IMAG จะติดตั้งทั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์และลีนุกซ์ไปพร้อมกัน ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ทั้งสองส่วน สำหรับลูกค้าใหม่ที่ไม่มีความรู้เรื่องลีนุกซ์มาก่อน ก็จะ
เรียนรู้ไปพร้อมกับการทำงานปกติได้ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งก็จะไม่มีการเพิ่มเติมจากการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ปกติ
        ในด้านระบบฮาร์ดแวร์ที่จะรองรับระบบลีนุกซ์นั้น เครื่อง IMAG ไม่จำเป็นต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมภายในเครื่องใหม่ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นแบบมาตรฐาน และ
ลูกค้ายังจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในภายหลังได้อีกด้วย นอกจากนั้นจะมีการแสดงรายละเอียดของอุปกรณ์แต่ละชิ้น เพื่อพิสูจน์คุณภาพและให้เหมาะกับการใช้งานลีนุกซ์
ที่เวลาติดตั้งจะต้องระบุชนิดของอุปกรณ์ด้วย
        สำหรับระบบลีนุกซ์ที่ IMAG เลือกใช้ในขณะนี้คือ RED HAT โดยจะเปลี่ยนรุ่นใหม่ตามตลาด ซึ่งระยะเวลาในการติดตั้งจะไม่เกิน 5 นาที แตกต่างจากระบบอื่นๆ ที่ต้องใช้
เวลาอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป นอกจากนี้ภายในเครื่องจะติดตั้งแอปพลิเคชั่นด้านอื่นๆ เช่น เบราเซอร์, เวิร์ด, วินแอมป์ ฯลฯ ซึ่งเป็นแชร์แวร์เข้าไปในเครื่องด้วย
        ปัจจุบันเครื่อง IMAG จำหน่ายออกไปแล้ว 500 กว่าเครื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มลูกค้าใหญ่อยู่ที่การประมูลงานราชการและองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทจะ
เข้าร่วมประมูลในงานอัพเกรดเครื่อง โดยในอนาคตบริษัทจะเสนอระบบใหม่ในการติดตั้งระบบลีนุกซ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า เพื่อให้ใช้งานกับแอปพลิเคชั่นปัจจุบันได้

อ. เกษตรฯ หนุนลีนุกซ์ระบบ SSS
IMAG ชงภาครัฐใช้แทนซื้อใหม่
ประชาชาติธุรกิจ  26-28 สิงหาคม 2542

        ไอแม็กคอมพิวเตอร์จับมือ อ.เกษตรฯ หนุน "ลีนุกซ์" ระบบใหม่ SSS หวังปลุกชีพคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าให้เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เตรียมชงให้หน่วยงานรัฐเลือกใช้ทดแทน
การซื้อเครื่องใหม่
        นายสุพัตร์ ฟ้ารุ่งสาง ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากปัญหาที่คอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนรุ่นอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องเก่า
ไม่สามารถใช้งานกับซอฟท์แวร์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ทำให้ตนได้คิดค้นระบบคอมพิวเตอร์ SSS ขึ้นมา โดยอาศัยระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ให้เปล่า
ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ มาทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าตั้งแต่เครื่องรุ่น 386, 486, และ 586 ให้ทำงานมีประสิทธิภาพแบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยเพิ่มการลงทุนเพียง
เล็กน้อย เพื่อช่วยให้องค์กรประหยัดงบประมาณการซื้อเครื่องใหม่ลงได้มาก
        ระบบ SSS เป็นการรวบรวมเทคโนโลยีที่มีอยู่ในท้องตลาดมาประยุกต์เข้าไว้ด้วยกัน จากเดิมที่ลีนุกซ์จะมีบทบาทเป็นเพียงแค่ไฟล์เซิร์ฟเวอร์, พรินต์เซิร์ฟเวอร์ เท่านั้น
แต่ไม่สามารถเป็นเครื่องแม่ข่ายเพื่อกระจายความสามารถไปยังเครื่องลูกข่ายได้ แต่ระบบใหม่จะแปลงความสามารถของลีนุกซ์เพื่อให้เครื่องลูกข่ายสามารถดึงประสิทธิภาพ
ของเครื่องแม่ข่ายไปใช้งานได้
        อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบนี้จะประกอบด้วย เครื่องแม่ข่ายที่มีอยู่ในท้องตลาดไม่ว่าจะเป็นซีพียูของผู้ผลิตรายใดก็ตาม ต่อเข้ากับฮับตั้งแต่ความเร็ว 10/100 เมกะบิตต่อวินาที
เชื่อมระบบ Local Area Network หรือ LAN  เข้ากับเนตเวิร์กการ์ดที่ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ดังนั้นงบประมาณสำหรับเครื่องแม่ข่ายและระบบ LAN จะอยู่ที่
1 แสนบาท แต่สามารถทำให้เครื่องรุ่นเก่าอย่างน้อย 30 ถึง 100 เครื่องมีประสิทธิภาพมากขึ้นและใช้งานได้ตลอดไป แต่มีข้อแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าต้องมีหน่วยความจำ
หรือ RAM 16 เมกะไบต์ขึ้นไป และต้องแสดงผลแบบ 256 สี
        "จุดอ่อนของระบบนี้คือเครื่อง 386 และ 486 รุ่นเก่ามักจะมีหน่วยความจำสูงสุดแค่ 8 เมกะไบต์ หากจะใช้ระบบ SSS จำเป็นต้องเพิ่มแรมเข้ามา แต่แรมสำหรับเครื่องรุ่น
เก่าจะหายากและราคาแพง หรือเท่ากับราคาแรมปัจจุบัน" นายสุพัตร์กล่าว
        ส่วนกรณีที่เป็นห่วงกันว่าระบบลีนุกซ์จะไม่มีแอปพลิเคชั่นประเภทออฟฟิศใช้งานในระบบภาษาไทยนั้น ระบบ SSS สามารถทำงานร่วมกับซอฟท์แวร์สตาร์ออฟฟิศ ซึ่ง
มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับไมโครซอฟท์ออฟฟิศ และยังสามารถใช้ไฟล์ร่วมกันได้อีกด้วย สำหรับระบบภาษาไทยจะมีฟอนด์ภาษาไทยที่สนับสนุนมากกว่า 50 รูปแบบ และ
สามารถเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา และยังใช้กับเครื่องพิมพ์ได้เกือบทุกชนิด แม้ว่าในตัวซอฟท์แวร์จะไม่สามารถตัดคำหรือตรวจสอบคำสะกดได้ แต่ก็สามารถนำซอฟท์แวร์ที่คนไทย
คิดค้นมาแล้วและมีอยู่ในท้องตลาดมาใส่ได้ โดยลงซอฟท์แวร์ที่เครื่องแม่ข่ายเพียงตัวเดียว ให้เครื่องลูกข่ายที่มีเพียงระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ดึงซอฟท์แวร์ไปใช้งาน โดยสามารถ
กำหนดขอบเขตการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้
        นอกจากนั้น หากเครื่องแม่ข่ายต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็มเพื่อใช้อินเทอร์เนต จะทำให้เครื่องลูกข่ายทั้งหมดสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เนตได้ โดยไม่ต้องซื้อโมเด็มเพิ่ม และใช้
บัญชีอินเทอร์เนตเพียงชื่อเดียวเท่านั้น เท่ากับลดรายจ่ายค่าอินเทอร์เนต และค่าซอฟท์แวร์ทั้งในส่วนของระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชั่นที่ติดตั้งในเครื่องแม่ข่ายและลูกข่าย
        ระบบนี้ทางตนได้ร่วมมือกับบริษัท ไทยชุน ฟาสท์-เทค ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ IMAG Computer เพื่อเสนอระบบในงานประมูลทั้งภาคราชการ และ
เอกชน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ และต้องการใช้งบประมาณเพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่มากกว่า.

สนใจเรื่อง SSS ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://supat.dhs.org

สนใจเรื่อง Linux ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.linuxsiam.com
 
Home
What's New
Company Profile
Education
Support
Service

Copyright (c) 1999-2000 Thai Shun Fast-Tech Co., Ltd.